ปีการศึกษา 2566
ข้อที่ 1.1 การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
1.1.1 บริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
1.1.2 บริหารหลักสูตรสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.1.3 บริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ข้อที่ 1.2 การบริหารจัดการบุคลากรทุกประเภทตามหน่วยงานที่สังกัด
1.2.1 บริหารจัดการบุคลากรอย่างเป็นระบบ
1.2.2 ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย/หัวหน้าระดับปฐมวัย/ผู้ดำเนินกิจการ มีคุณวุฒิ/คุณสมบัติเหมาะสม และบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.3 ครู/ผู้ดูแลเด็กที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย มีวุฒิการศึกษา/คุณสมบัติเหมาะสม
1.2.4 บริหารบุคลากรจัดอัตราส่วนของครู/ผู้ดูแลเด็กอย่างเหมาะสมพอเพียงต่อจำนวนเด็กในแต่ละกลุ่มอายุ
ข้อที่ 1.3 การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย
1.3.1 บริหารจัดการด้านสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ
1.3.2 โครงสร้างและตัวอาคารมั่นคง ตั้งอยู่ในบริเวณและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
1.3.3 จัดการความปลอดภัยของพื้นที่เล่น/สนามเด็กเล่น และสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร
1.3.4 จัดการสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสมกับการใช้งานและเพียงพอ
1.3.5 จัดให้มีของเล่นที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน มีจำนวนเพียงพอ สะอาด เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเด็ก
1.3.6 ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเดินทางอย่างปลอดภัย
1.3.7 จัดให้มีระบบป้องกันภัยจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.3.8 จัดให้มีระบบรับเหตุฉุกเฉิน ป้องกันอัคคีภัย/ภัยพิบัติตามความเสี่ยงของพื้นที่
ข้อที่ 1.4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้
1.4.1 มีการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังการเจริญเติบโต ของเด็ก และดูแลการเจ็บป่วยเบื้องต้น
1.4.2 มีแผนและดำเนินการตรวจสุขอนามัยประจาวัน ตรวจสุขภาพประจำปี และป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
1.4.3 อาคารต้องมีพื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วนตามกิจวัตรประจำวันของเด็กที่เหมาะสมตามช่วงวัย และการใช้ประโยชน์
1.4.4 จัดให้มีพื้นที่/มุมประสบการณ์ และแหล่งเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
1.4.5 จัดบริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม ที่แปรงฟัน/ล้างมือให้เพียงพอ สะอาด ปลอดภัยและเหมาะสมกับการใช้งานของเด็ก
1.4.6 จัดการระบบสุขาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมสถานที่ปรุง ประกอบอาหารน้ำดื่มน้ำใช้ กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล และพาหะนำโรค
1.4.7 จัดอุปกรณ์ภาชนะและเครื่องใช้ส่วนตัวให้เพียงพอกับการใช้งานของเด็กทุกคนและดูแลความสะอาดและปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
ข้อที่ 1.5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
1.5.1 มีการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างพ่อแม่/ผู้ปกครองกับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับตัวเด็กและการดำเนินงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.5.2 การจัดกิจกรรมที่พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครอบครัว และชุมชน มีส่วนร่วม
1.5.3 ดำเนินงานให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.5.4 มีคณะกรรมการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรฐานด้านที่ ๒ ของครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ข้อที่ 2.1 การดูแลและพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน
2.1.1 มีแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการดำเนินงานและประเมินผล
2.1.2 จัดพื้นที่/มุมประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นที่เหมาะสมอย่างหลากหลาย
2.1.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างบูรณาการตามธรรมชาติของเด็กที่เรียนรู้ ด้วยประสาทสัมผัส ลงมือทำ ปฏิสัมพันธ์ และการเล่น
2.1.4 เลือกใช้สื่อ/อุปกรณ์ เทคโนโลยี เครื่องเล่นและจัดสภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกแหล่งเรียนรู้ ที่เพียงพอ เหมาะสม ปลอดภัย
2.1.5 เฝ้าระวังติดตามพัฒนาการเด็กรายบุคคลเป็นระยะ เพื่อใช้ผลในการจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กทุกคนให้เต็มตามศักยภาพ
ข้อที่ 2.2 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ
2.2.1 ให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป รับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอ และส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม
2.2.2 จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมในการดูแล สุขภาพความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
2.2.3 ตรวจสุขภาพอนามัยของเด็กประจำวัน ความสะอาดของร่างกาย ฟันและช่องปากเพื่อคัดกรองโรคและการบาดเจ็บ
2.2.4 เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคล บันทึกผลภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
2.2.5 จัดให้มีการตรวจสุขภาพร่างกาย ฟันและช่องปาก สายตา หู ตามกำหนด
ข้อที่ 2.3 การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร
2.3.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กได้สังเกต สัมผัส ลองทำ คิดตั้งคำถาม สืบเสาะหาความรู้ แก้ปัญหา จินตนาการ คิดสร้างสรรค์ โดยยอมรับความคิดและผลงานที่แตกต่างของเด็ก
2.3.2 จัดกิจกรรมและประสบการณ์ทางภาษาที่มีความหมายต่อเด็ก เพื่อการสื่อสารอย่างหลากหลาย ฝึกฟัง พูด ถาม ตอบ เล่าและสนทนาตามลาดับขั้นตอน พัฒนาการ
2.3.3 จัดกิจกรรมปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านให้เด็กมีทักษะการดูภาพ ฟังเรื่องราว พูด เล่า อ่าน วาด/เขียน เบื้องต้น ตามลำดับพัฒนาการ โดยครู/ ผู้ดูแลเด็ก เป็นตัวอย่างของการพูด และการอ่านที่ถูกต้อง
2.3.4 จัดให้เด็กมีประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเด็ก บุคคล สิ่งต่างๆ สถานที่ และธรรมชาติรอบตัวด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ
2.3.5 จัดกิจกรรมและประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เบื้องต้นตามวัยโดยเด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ข้อที่ 2.4 การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ-สังคม ปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นพลเมืองดี
2.4.1 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคง ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก จัดกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับเด็ก และการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
2.4.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีความสุข แจ่มใส ร่าเริง ได้แสดงออกด้านอารมณ์ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง โดยผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย ศิลปะ ดนตรี ตามความ สนใจและถนัด
2.4.3 จัดกิจกรรมและประสบการณ์ ปลูกฝังคุณธรรมให้เด็กใฝ่ดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รู้จักสิทธิ และหน้าที่รับผิดชอบของพลเมืองดี รักครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและประเทศชาติ ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัย และพัฒนาการ
ข้อที่ 2.5 การส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป
2.5.1 จัดกิจกรรมกับผู้ปกครองให้เตรียมเด็กก่อนจากบ้านเข้าสู่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย/ โรงเรียน และจัดกิจกรรมช่วงปฐมนิเทศให้เด็กค่อยปรับตัวในบรรยากาศที่เป็นมิตร
2.5.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการปรับตัวก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นแต่ละขั้น จนถึงการเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
มาตรฐานด้านที่ 3 คุณภาพของเด็กปฐมวัย
ข้อที่ 3.1 ข เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัยและมีสุขนิสัยที่เหมาะสม
3.1.1 ข เด็กมีน้ำหนักตัวเหมาะสมกับวัยและสูงดีสมส่วน ซึ่งมีบันทึกเป็นรายบุคคล
3.1.2 ข เด็กมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเองตามวัย
3.1.3 ข เด็กมีสุขภาพช่องปากดี ไม่มีฟันผุ
ข้อที่ 3.2 ข เด็กมีพัฒนาการสมวัย
3.2.1 ข เด็กมีพัฒนาการสมวัยโดยรวม ๕ ด้าน
ข้อที่ 3.3.3 ข เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
3.3.1 ข เด็กมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ สามารถเคลื่อนไหว และทรงตัวได้ ตามวัย
3.3.2 ข เด็กมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานระหว่างตากับมือ ตามวัย
ข้อที่ ๓.4 ข เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ
3.4.1 ข เด็กแสดงออก ร่าเริง แจ่มใส รู้สึกมั่นคงปลอดภัย แสดงความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นได้สมวัย
3.4.2 ข เด็กมีความสนใจ และร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างสมวัย ซึ่งรวมการเล่น การทำงาน ศิลปะ ดนตรี กีฬา
3.4.3 ข เด็กสามารถอดทน รอคอย ควบคุมตนเอง ยับยั้งชั่งใจ ทำตามข้อตกลง คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น มีกาลเทศะ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ได้สมวัย
ข้อที่ 3.5 ข เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้และสร้างสรรค์
3.5.1 ข เด็กบอกเกี่ยวกับตัวเด็ก บุคคล สถานที่แวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กได้สมวัย
3.5.2 ข เด็กมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ สามารถสังเกต จำแนก และเปรียบเทียบ จำนวน มิติ สัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ) เวลา ได้สมวัย
3.5.3 ข เด็กสามารถคิดอย่างมีเหตุผล แก้ปัญหาได้สมวัย
3.5.4 ข เด็กมีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ที่แสดงออกได้สมวัย
3.5.5 ข เด็กมีความพยายาม มุ่งมั่นตั้งใจ ทำกิจกรรมให้สำเร็จสมวัย
ข้อที่ 3.6 ข เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
3.6.1 ข เด็กสามารถฟัง พูด จับใจความ เล่า สนทนา และสื่อสารได้สมวัย
3.6.2 ข เด็กมีทักษะในการดูรูปภาพ สัญลักษณ์ การใช้หนังสือ รู้จักตัวอักษร การคิดเขียนคำและการอ่านเบื้องต้นได้สมวัยและตามลำดับพัฒนาการ
3.6.3 ข เด็กมีทักษะการวาด การขีดเขียนตามลาดับขั้นตอนพัฒนาการสมวัย นำไปสู่การขีดเขียนคำที่คุ้นเคย และสนใจ
3.6.4 ข เด็กมีทักษะในการสื่อสารอย่างเหมาะสมตามวัย โดยใช้ภาษาไทยเป็นหลักและมีความคุ้นเคยกับภาษาอื่นด้วย
ข้อที่ 3.7 ข เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม คุณธรรม มีวินัย และความเป็นพลเมืองดี
3.7.1 ข เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างสมวัย และแสดงออกถึงการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.7.2 ข เด็กมีความเมตตา กรุณา มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และมีค่านิยมที่พึงประสงค์สมวัย
3.7.3 ข เด็กสามารถเล่น และทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่ม เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม แก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
3.7.4 ข เด็กภาคภูมิใจที่เป็นสมาชิกที่ดีในครอบครัว ชุมชน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและตระหนักถึงความเป็นพลเมืองดีของประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน